ยาฟาวิพิราเวียร์ อย่าซื้อกินเอง เสี่ยงเกิดเชื้อดื้อยา ส่งผลให้ใช้ยาไม่ได้ผลและเสียชีวิตได้ จริงหรือ?

ยาฟาวิพิราเวียร์ อย่าซื้อกินเอง เสี่ยงเกิดเชื้อดื้อยา ส่งผลให้ใช้ยาไม่ได้ผลและเสียชีวิตได้ จริงหรือ?

Avatar
โดย น้องจริงจ้า | 06/08/2021

ตามที่มีการนำเสนอข่าวเรื่อง ยาฟาวิพิราเวียร์ อย่าซื้อกินเอง เสี่ยงเกิดเชื้อดื้อยา ส่งผลให้ใช้ยาไม่ได้ผลและเสียชีวิตได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาได้เปิดเผยว่า ตามที่มีการขายยาฟาวิพิราเวียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ขอเตือนประชาชนอย่าซื้อยามารับประทานเองเพราะอาจได้ยาปลอมที่ไม่มีตัวยาสําคัญอยู่เลย หรือได้รับยาที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานทําให้เสียโอกาสในการรักษา และอาจได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อน รวมถึงการซื้อยาผ่านอินเตอร์เน็ต ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับคําแนะนําที่ถูกต้องในการใช้ยา ซึ่งปัจจุบันเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 และเข้ารับการรักษาในระบบที่รัฐจัดเตรียมไว้ให้ จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ยาฟาวิพิราเวียร์จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องสั่งจ่ายและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ จําเป็นต้องติตตามอาการข้างเคียงและผลการรักษาระหว่างการใช้ยา การใช้ยาในผู้ป่วยบางกลุ่มจําเป็นต้องคํานึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่จะตามมาโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้จําเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามคําแนะนํา การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องอาจทําให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ง่าย ส่งผลให้ใช้ยาไม่ได้ผลเมื่อเกิดการติดเชื้อเป็นเหตุให้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากล่าวในตอนท้ายว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ส่งผลให้มีผู้ไม่หวังดีหลอกขายยาให้แก่ประชาชน

ทั้งมีการลักลอบนํายาของผู้ป่วยมาขายหรือเจตนาปลอมให้เชื่อว่าเป็นยาฟาวิพิราเวียร์หลอกขายตามอินเทอร์เน็ต ซึ่งการกระทําดังกล่าวเป็นการกระทําที่ ผิดกฎหมาย และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือหากประชาชนสงสัยว่ายาฟาวิพราเวียร์ที่ได้รับเป็นยาปลอมสามารถสอบถามและแจ้งเบาะแสที่ สายด่วน 1556 หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งที่มาของข่าว: คลิกที่นี่

Avatar
น้องจริงจ้า

ผู้ช่วยวิเคราะห์ข่าวกรองให้ทุกท่าน ข่าวไหนจริง หรือ ไม่จริง ตรวจสอบกับน้องจริงจ้าได้ที่นี่เจ้าค่ะ


เลือกประเภทข่าวที่ต้องการโหวต :