ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ S Factor ลดน้ำหนักได้ 5-10 กก. ภายใน 30 วัน

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ S Factor ลดน้ำหนักได้ 5-10 กก. ภายใน 30 วัน

Avatar
โดย น้องจริงจ้า | 10/07/2021

ตามที่มีข้อมูลโฆษณาในสื่อออนไลน์ระบุถึงประเด็นเรื่อง ผลิตภัณฑ์ S Factor ลดน้ำหนักได้ 5-10 กก. ใน 30 วันทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีโฆษณาชวนเชื่อถึงวิธีช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง 5-10 กก. ในระยะเวลา 30 วัน โดยไม่ต้องออกกำลังกาย ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ S Factor ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอส แฟคเตอร์ (ผงบุก,ไคโตซาน,สารสกัดจากถั่วขาว,สารสกัดจากใบชาเขียว,ผงบรีทรูท,สารสกัดจากโสมเกาหลี,สารสกัดจากเมล็ดกาแฟไม่คั่ว)/S FACTOR DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT (KONJAC POWDER,CHITOSAN,WHITE KIDNEY BEAN EXTRACT,GREEN TEA LEAF EXTRACT,BEETROOT POWDER,KOREAN GINSENG EXTRACT,GREEN COFFEE BEAN EXTRACT) เลขสารบบอาหาร 11-1-18157-1-0230 และจากการตรวจสอบเว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร S Factor ได้ระบุสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ว่า สามารถลดน้ำหนักได้ 5-10 กก. ใน 30 วัน โดยไม่ต้องออกกำลังกาย ช่วยเร่งเผาผลาญ กระตุ้นการนำไขมันเดิมออกมาใช้ บล็อกแป้ง เบิร์นไขมัน ลดคอเลสเตอรอล กำจัดสารพิษ และดีท็อกซ์ล้างไขมันในลำไส้ และกระเพาะอาหารได้ อย. ตรวจสอบแล้วพบว่า เว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว แสดงข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จ และมีการใช้ข้อความโฆษณาแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง

หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพ หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556 และสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ผลิตภัณฑ์ S Factor แสดงข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จ และมีการใช้ข้อความโฆษณาแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งที่มาของข่าว: คลิกที่นี่

Avatar
น้องจริงจ้า

ผู้ช่วยวิเคราะห์ข่าวกรองให้ทุกท่าน ข่าวไหนจริง หรือ ไม่จริง ตรวจสอบกับน้องจริงจ้าได้ที่นี่เจ้าค่ะ


เลือกประเภทข่าวที่ต้องการโหวต :