แพทย์เตือนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการดื่มชาเขียวสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้

แพทย์เตือนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการดื่มชาเขียวสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้

Avatar
โดย น้องจริงจ้า | 08/04/2020

โพสต์ที่อ้างอิงสรรพคุณของชาเขียวมัทฉะว่าช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน​ให้กับร่างกายพื่อป้องกันไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้ถูกแชร์ออกไปหลายร้อยครั้งทางเฟซบุ๊ก คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขระดับนานาชาติและผู้เชี่ยวชาญต่างเตือนว่าปัจจุบันไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่าชาเขียวสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ คำกล่าวอ้างนี้ได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563 และถูกแชร์ต่ออีกกว่า 400 ครั้ง ข้อความที่อยู่ในโพสต์เขียนว่า “ผลวิจัยพบว่าชาเขียวมัทฉะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน​ปกป้องร่างกายจากไวรัส​ #COVID19 ได้อีกทาง” ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับสำนักข่าว AFP เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 โดย กล่าวว่า “เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันนะครับ” นพ.ปกรัฐ อธิบายต่อว่า “การที่ร่างกายเรามีภูมิคุ้มกันสูงไม่ได้ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสแต่อย่างใด” นพ. Jayaruwan Bandara ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางการแพทย์ ประเทศศรีลังกา ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับสำนักข่าว AFP เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ว่า ถึงแม้ชาจะสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ แต่ยังไม่มีการวิจัยว่าการดื่มชาจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยโควิด-19 เขากล่าวว่า “การดื่มชาอาจจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้ดื่ม แต่ไม่สามารถเรียกว่าเป็นวิธีการป้องกันหรือรักษาโควิด-19 ได้ วิธีการลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับการยอมรับโดยหน่วยงานด้านสุขภาพระดับนานาชาติ คือการเว้นระยะห่างทางสังคม

รักษาความสะอาดที่บริเวณมือ และเลี่ยงกับสัมผัสตา ปาก และจมูก” ดร. Ashan Pathirana นายทะเบียนประจำสำนักงานส่งเสริมสุขภาพประเทศศรีลังกาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AFP ในวันที่ 25 มีนาคม 2563 ว่า “การเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับวิธีการรักษาโควิด-19 โดยไม่คำนึงถึงหลักวิทยาศาสตร์ สามารถมีผลกระทบที่ร้ายแรงได้” เขาเตือนว่า “แม้ว่าการดื่มชาไม่ได้มีผลเสีย แต่ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ต่อมวลชนจะสร้างความรู้สึกปลอดภัยอย่างผิดๆ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้”

แหล่งที่มาของข่าว: คลิกที่นี่

Avatar
น้องจริงจ้า

ผู้ช่วยวิเคราะห์ข่าวกรองให้ทุกท่าน ข่าวไหนจริง หรือ ไม่จริง ตรวจสอบกับน้องจริงจ้าได้ที่นี่เจ้าค่ะ


เลือกประเภทข่าวที่ต้องการโหวต :