ข่าวปลอม อย่าแชร์! พม. แจกเงินเยียวยาโควิด-19 ตามมาตรการของรัฐ

ข่าวปลอม อย่าแชร์! พม. แจกเงินเยียวยาโควิด-19 ตามมาตรการของรัฐ

Avatar
โดย น้องจริงจ้า | 17/10/2020

ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง พม. แจกเงินเยียวยาโควิด-19 ตามมาตรการของรัฐ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการส่งต่อข้อความว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีการแจกเงินเยียวยาโควิด-19 ซึ่งเป็นการการแจงเงินตามมาตรการของรัฐ ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ชี้แจงว่า การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางสังคมของกระทรวง พม. ด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาทนั้น เป็นการเบิกจ่ายตามระเบียบและประกาศของกระทรวง พม. ซึ่งไม่ใช่เงินเยียวยาตามมาตรการของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ซึ่งการจ่ายเงินสงเคราะห์ไม่ใช่สำหรับประชาชนทั้งหมดในภาพรวมของประเทศ แต่เฉพาะประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน อาทิ เด็ก เยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย คนไร้ที่พึ่ง ชาวเขา และผู้ที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินข้อเท็จจริงจากนักสังคมสงเคราะห์ว่ามีความเดือดร้อนและความต้องการการช่วยเหลือเร่งด่วนอย่างไร อีกทั้งต้องวิเคราะห์เป็นรายกรณีตามขั้นตอนและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หากประชาชนประสบปัญหาทางสังคมและเดือดร้อนจากโรคโควิด-19 หรือพบเห็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ขอให้ติดต่อที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (สนง.พมจ.) ทุกจังหวัด ในภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว

และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.m-society.go.th หรือโทรสายด่วน 1300 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การจ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางสังคมของกระทรวง พม. เป็นการเบิกจ่ายตามระเบียบและประกาศของกระทรวง พม. ไม่ใช่เงินเยียวยาตามมาตรการของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19

แหล่งที่มาของข่าว: คลิกที่นี่

Avatar
น้องจริงจ้า

ผู้ช่วยวิเคราะห์ข่าวกรองให้ทุกท่าน ข่าวไหนจริง หรือ ไม่จริง ตรวจสอบกับน้องจริงจ้าได้ที่นี่เจ้าค่ะ


เลือกประเภทข่าวที่ต้องการโหวต :