โควิด-19: ข้อเท็จจริงและปัญหาการตรวจโควิด การรักษาและค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลเอกชน

โควิด-19: ข้อเท็จจริงและปัญหาการตรวจโควิด การรักษาและค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลเอกชน

Avatar
โดย น้องจริงจ้า | 9/4/2021

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต้นตอมาจากกลุ่มนักเที่ยวสถานบันเทิงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไม่เพียงทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ แต่ยังทำให้ปริมาณความต้องการตรวจหาเชื้อเพื่มมากขึ้น ในขณะที่สถานที่รองรับกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อก็ยังมีอย่างจำกัด นี่จึงเป็นสาเหตุให้ในหลายวันที่ผ่านมาโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งในพื้นที่กรุงเทพฯ ประกาศงดให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 บางแห่งระบุว่าน้ำยาตรวจหาเชื้อขาดช่วงในการขนส่ง ส่วนเตียงสำหรับรองรับผู้ติดเชื้อของโรงพยาบาลเต็มแล้ว ซึ่งจากการสำรวจของบีบีซีไทย พบว่ามีโรงพยาบาลเอกชนอย่างน้อย 10 แห่ง ที่ประกาศงดตรวจโควิด-19 ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของโรงพยาบาล ส่วนใหญ่งดให้บริการตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมา บีบีซีไทยรวบรวมข้อเท็จจริงและปัญหาการตรวจเชื้อโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ น้ำยาตรวจเชื้อไม่เพียงพอจริงหรือไม่ วันที่ 9 เม.ย. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวถึงการเผยแพร่ข้อมูลว่าโรงพยาบาลเอกชนงดให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาเพราะน้ำยาตรวจหาเชื้อไม่เพียงพอว่าข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริงและย้ำว่า "ยังพอมีน้ำยาอยู่" นพ. ทวีศิลป์อธิบายว่าสาเหตุที่โรงพยาบาลเอกชนงดบริการตรวจหาเชื้อเกิดจากข้อกำหนดเดิมที่ว่า หากตรวจพบเชื้อที่ไหนให้พักรักษาตัวที่นั่น จึงทำให้เตียงที่ให้บริการเกินกว่าศักยภาพที่จะรองรับได้ จะชั่งน้ำหนักอย่างไรระหว่างความเสี่ยงกับประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นายกฯ ตั้ง กก.หาวัคซีนโควิดเพิ่ม-สั่งปิดสถานบันเทิง 41 จังหวัด ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

รมต.คนแรกที่ติดโควิด คาดคนใกล้ชิดติดจาก "คลัสเตอร์สถานบันเทิง" ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่าขณะนี้ประเทศไทยมีน้ำยาตรวจหาโควิดประมาณ 3-4 แสนชุด ปัจจุบันมีสถานที่ตรวจหาเชื้อโควิด - 19 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้การรับรองทั้งหมด 270 แห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยแต่ละแห่งจะจัดหาน้ำยาตรวจมาเอง ส่วนกรมวิทย์ฯ จะมีสต็อกกลางจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งขณะนี้ได้สั่งการให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มีอยู่ 15 แห่ง ทั่วประเทศหาสต็อกไว้เพิ่ม หากมีตรงไหนขาดแคลนหรือตรวจไม่ได้ก็จะส่งไปสนับสนุน ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามสื่อมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาลในประเด็นนี้เช่นกัน โดยยืนยันเพียงสั้น ๆ ว่า "น้ำยา (ตรวจโควิด) มีเพียงพอ" พบมีหลายโรงพยาบาลเอกชนงดให้บริการตรวจหาเชื้อ บีบีซีไทยรวบรวมข้อมูลที่เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในวันที่ 9 เม.ย. พบว่ามีโรงพยาบาลเอกชนอย่างน้อย 12 แห่งที่งดให้บริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ประกอบด้วย รพ.ปิยะเวท: งดบริการตรวจหาเชื้อ รพ.เจ้าพระยา: ปิดให้บริการตั้งแต่ วันที่ 8 เม.ย. เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเตียงคนไข้สำหรับรองรับผู้ติดเชื้อโควิดของโรงพยาบาลเต็ม รพ.สินแพทย์ ศรีนครินทร์: งดให้บริการตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. เนื่องจากมีผู้รับบริการเป็นจำนวนมาก และปริมาณน้ำยาที่ในการทดสอบขาดช่วงในการขนส่ง รพ.สินแพทย์ รามอินทรา: งดบริการตรวจหาเชื้อ รพ.รามคำแหง: แจ้งปิดให้บริการ ไดรฟ์ทรู ตรวจหาเชื้อ ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. รพ.วิภาราม: งดให้บริการตรวจด้วยวิธี เรียลไทม์ RT-PCR รพ.สมิติเวช:

งดบริการตรวจหาเชื้อ รพ.เมดพาร์ค: งดบริการตรวจหาเชื้อ รพ.เปาโล เกษตร: งดตรวจตั้งแต่วันที่ 10-11 เม.ย. เปิดให้บริการอีกครั้ง วันที่ 12 เม.ย. รพ.พญาไท 2: ระบุว่าต้องรอผลตรวจนาน 48-72 ชม. เนื่องจากมีผู้มารับบริการตรวจหาเชื้อจำนวนมาก เฟซบุ๊กของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งย่านเกษตร พบว่ามีประชาชนร้องเรียนเรื่องการจองคิวตรวจโควิด โดยระบุว่าได้จองคิวและชำระเงินผ่านทางออนไลน์เรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อเดินทางไปตรวจกลับได้รับแจ้งว่าคิวตรวจเต็ม ผู้ป่วยถูกปฏิเสธ เพราะเตียงบริการไม่เพียงพอ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงชี้แจงสถานการณ์เตียงผู้ป่วยของโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ หลังจากมีที่มีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งระบุว่า เตียงที่รองรับผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันพบเชื้อโควิด-19 ไม่เพียงพอ Facebook/กระทรวงสาธารณสุข ที่มาของภาพ,FACEBOOK/กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ได้นำข้อมูลของเตียงผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมาแสดงว่าข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2563 ในช่วงปลายการระบาดระลอกแรก มีเตียงโรงพยาบาลทุกสังกัด ทั้งโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหาคร และโรงพยาบาลเอกชนรองรับทั้งหมด 2,532 เตียง โดยเป็นสัดส่วนของโรงพยาบาลเอกชน 1,656 เตียง คิดเป็นกว่า 65% ของเตียงทั้งหมด ซึ่งระลอกแรกใช้ไป 40% อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ล่าสุด กรมการแพทย์ได้ประสานกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อนำเตียงมาบริหารจัดการร่วมกัน ในโรงพยาบาลเอกชน 15 แห่ง (ข้อมูลของวันที่ 8 เม.ย.) มีเตียงทั้งหมด 717 เตียง และยังว่างอยู่ 293 เตียง ซึ่ง อธิบดีกรมการแพทย์

ย้ำว่ายังเพียงพอรองรับ แนวทางในการเพิ่มจำนวนเตียงเป็นอย่างไร อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวด้วยว่าแนวทางการบริหารจัดการเตียง โรงพยาบาลเอกชนที่ตรวจพบ ต้องดำเนินการประสานในเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเพื่อให้ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาในโรงพยาบาล โฆษก ศบค. กล่าวว่า กำลังมีแนวความคิดจัดทำฮอสปิเทล (Hospitel) หรือโรงแรมที่แปลงเป็นโรงพยาบาลสนามได้จำนวนหนึ่ง เพื่อรองรับความต้องการใช้เตียงผู้ป่วยที่กำลังเพิ่มขึ้น ที่มาของภาพ,EPA คำบรรยายภาพ, โฆษก ศบค. กล่าวว่า กำลังมีแนวความคิดจัดทำฮอสปิเทล (Hospitel) หรือโรงแรมที่แปลงเป็นโรงพยาบาลสนามได้จำนวนหนึ่ง เพื่อรองรับความต้องการใช้เตียงผู้ป่วยที่กำลังเพิ่มขึ้น "โรงพยาบาลไหนตรวจ โรงพยาบาลนั้นต้องดำเนินการประสานในเครือข่าย เพื่อให้ผู้ป่วยทุกรายได้เข้ารับการรักษา แปลว่าอะไรครับ ไม่ได้หมายความว่า โรงพยาบาลไหนตรวจแล้วโรงพยาบาลนั้นต้องรับ (ผู้ป่วย) ถ้าโรงพยาบาลนั้นเตียงไม่มีแล้ว ควรจะประสานเครือข่ายเอกชนด้วยกัน อันนี้เป็นหลักการที่ไม่ใช่เพิ่งมีการตกลง" กทม. สั่งปิดสถานบันเทิงเขตวัฒนา คลองเตย และบางแค หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก โควิด-19 : จะชั่งน้ำหนักอย่างไรระหว่างความเสี่ยงกับประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า อย่างไรก็ตาม จากรายชื่อของโรงพยาบาลเอกชนในเครือข่ายที่รัฐประสานจำนวนเตียง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลเอกชนที่ประกาศงดให้บริการตรวจเชื้อโควิด-19 เท่านั้น ทั้งนี้กลุ่มภาคีเครือข่ายโรงพยาบาล ประกอบด้วย กรมการแพทย์ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย เช่น รพ. ศิริราช รพ. รามา รพ. จุฬาลงกรณ์ฯ รพ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รพ.วชิรพยาบาล

และมีโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร เช่น รพ.ตากสิน รพ.เจริญกรุง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม และโรงพยาบาลเอกชน บรรยากาศการลงพื้นที่ตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 จากกลุ่มเสี่ยงที่ทำงานในสถานบันเทิงและประชาชนย่านทองหล่อเมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่มาของภาพ,THAI NEWS PIX คำบรรยายภาพ, บรรยากาศการลงพื้นที่ตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 จากกลุ่มเสี่ยงที่ทำงานในสถานบันเทิงและประชาชนย่านทองหล่อเมื่อวันที่ 8 เม.ย. นอกจากนี้ โฆษก ศบค. กล่าวเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมาว่าจะมีการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหานี้ โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังมีศักยภาพที่จะขยายเตียงบริการได้อีกกว่า 5,000 เตียง และสามารถจัดทำ "ฮอสปิเทล" หรือโรงแรมที่แปลงเป็นโรงพยาบาลสนามได้จำนวนหนึ่ง รวมไปถึงโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติมอีกด้วย เตรียมเปิดโรงพยาบาลสนามในกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากสถานการณ์พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นจำนวนมากในหลายพื้นที่ ทำให้หลายหน่วยงานได้จัดเตรียมโรงพยาบาลสนาม ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดย จ.เชียงใหม่ มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 7 รอบพระชนมพรรษา ซึ่งจะเริ่มจัดตั้งและรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. เป็นต้นไป ทั้งนี้เชียงใหม่มีผู้ป่วยยืนยันในวันเดียวกันสูงถึง 148 ราย ในกลุ่มเชื่อมโยงกับสถานบันเทิง จ.เชียงใหม่ มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 7 รอบพระชนมพรรษา ที่มาของภาพ,สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ คำบรรยายภาพ, จ.เชียงใหม่ มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 7

รอบพระชนมพรรษา พื้นที่จัดตั้งโรงพยาบาลสนามล่าสุด (ข้อมูล 9 เม.ย.) เชียงใหม่ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 7 รอบพระชนมพรรษา รองรับ 280 เตียง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ประกาศกลับมาเปิดโรงพยาบาลสนามอีกครั้งรองรับผู้ป่วยที่้ล้นจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในกรุงเทพฯ รองรับ 470 เตียง เริ่มรับผู้ป่วยตั้งแต่ 11 เม.ย. พื้นที่หน่วยทหารของกระทรวงกลาโหมในกรุงเทพฯ และจังหวัดโดยรอบ ได้แก่ สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา กระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่าได้เตรียมพื้นที่ในหน่วยทหาร 10 แห่ง รองรับกว่า 3,195 เตียง ยังไม่มีกำหนดแน่ชัดในการเปิด กรุงเทพมหานคร มีแผนใช้โรงพยาบาล 2 แห่งเป็นโรงพยาบาลสนาม ได้แก่ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน รองรับได้ 500 เตียง และโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ถนนพุทธมณฑลสาย 3 เขตบางแค รองรับได้ 150-200 เตียง ผู้ป่วยโควิด-กักตัวรักษาโควิดที่บ้านเองได้หรือไม่ อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่าประเทศไทยยังยืนยันการใช้มาตรการที่ให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทุกรายในประเทศไทยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยให้เหตุผลว่าในรอบปีที่ผ่านมา ในต่างประเทศมีรายงานผู้ติดโรคโควิด-19 จำนวนนับหมื่นรายในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศเหล่านั้นให้คนไข้ที่อาการไม่รุนแรงพักรักษาตัวที่บ้าน ซึ่งวิธีนี้ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไม่ได้ รัฐบาลไทยเชื่อว่าการให้คนไข้พักรักษาตัวที่บ้านถ้าอาการไม่มากเช่นในต่างประเทศ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไม่ได้ ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES คำบรรยายภาพ, รัฐบาลไทยเชื่อว่าการให้คนไข้พักรักษาตัวที่บ้านถ้าอาการไม่มากเช่นในต่างประเทศ

ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไม่ได้ "ส่วนของเรา ให้นอนโรงพยาบาลทุกราย หลักการเป็นเช่นนี้ที่ตกลงมาเป็นระยะเวลา 1 ปีกว่า ๆ ที่ต้องเผชิญการระบาดของโรคโควิด-19" นพ.สมศักดิ์อธิบาย นอกจากนี้ยังมีการตกลงกันอีกว่า โรงพยาบาลที่ตรวจพบการติดเชื้อโควิด-19 ทั้งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มตรวจเชิงรุก โรงพยาบาลนั้นจะต้องประสานในเครือข่ายเพื่อให้ผู้ป่วยทุกรายได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

แหล่งที่มาของข่าว: คลิกที่นี่

Avatar
น้องจริงจ้า

ผู้ช่วยวิเคราะห์ข่าวกรองให้ทุกท่าน ข่าวไหนจริง หรือ ไม่จริง ตรวจสอบกับน้องจริงจ้าได้ที่นี่เจ้าค่ะ


เลือกประเภทข่าวที่ต้องการโหวต :