ผลวิจัยชี้ UVC คลื่น 222 nm. ฆ่าโควิดได้ แต่ไม่กระทบคน
วันนี้ (23 ก.ย.63) งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น พบว่า รังสี UV-C ที่ความยาวคลื่น 222 นาโนเมตร สามารถกำจัดไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เป็นโรคโควิด-19 ได้ แต่ไม่ทำอันตรายแก่เซลล์ที่มีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งแตกต่างจาก UV-C ช่วงความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร ที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง และภาวะต้อกระจก จึงถือเป็นความยาวคลื่นที่ค่อนข้างเสี่ยง
แสง UV มีความยาวช่วงคลื่น 100 – 400 นาโนเมตร โดยแสง UV มีอยู่ 3 ชนิดคือ UV-A ความยาวช่วงคลื่น 315 – 380 นาโนเมตร (long waves) UV-B ความยาวช่วงคลื่น 280 – 315 นาโนเมตร (middle waves) UV-C ความยาวช่วงคลื่น 100 – 280 nm (short waves)
ที่ผ่านมา มีหลักฐานทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นว่า การใช้รังสี Ultraviolet-C หรือ UV-C สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสต่างๆ ได้ จึงนำมาประยุกต์เป็นหลอดแสงอัลตราไวโอเล็ต
ล่าสุดมีงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยฮิโระชิมะ ของญี่ปุ่น พบว่า รังสี UV-C ที่ความยาวคลื่น (spectrum) 222 nm.นาโนเมตร สามารถกำจัดไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เป็นโรคโควิด19 ได้ รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสที่หลากหลายชนิด ไม่ทำอันตรายแก่เซลล์ที่มีชีวิตของมนุษย์ มีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ปลอดภัยต่อดวงตาและผิวหนังของมนุษย์ และยังเป็นเทคโนโลยีต่อต้านจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพด้วย
ขณะเดียวกัน UV-C ที่ความยาวคลื่น 207-222 นาโนเมตร แพทย์ได้ใช้ในการผ่าตัด พบว่าช่วยลดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดและลดการฟุ้งกระจายของเชื้อวัณโรคและไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน
นักวิจัย เห็นว่าอาจนำรังสีที่ความยาว 222 นาโนเมตร มาใช้แทนที่รังสีที่ความยาว 254 นาโนเมตร ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเนื่องจากผลิตได้ง่าย แต่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ คือมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง และภาวะต้อกระจก
ทั้งนี้
มีการทดสอบการฉายรังสีไปที่แผ่นหลังของหนูทดลอง เพื่อเปรียบเทียบระหว่าง รังสี UVC 254 นาโนเมต กับ UVC 222 นาโนเมตร โดยตลอด10วัน พบว่า ผิวหนังของหนูที่ ถูกรังสี UVC 222 นาโนเมตร ไม่พบรอยแดงหรือไหม้ ซึ่งต่างจากหนูอีกตัวที่ทดสอบด้วย UVC 254 นาโนเมตร พบรอยแดง
รังสี UV-C ที่ความยาวคลื่น 222 นาโนเมตร หรือที่รู้จักกันว่า Far-UVC Light นอกจากจะกำจัดโคโรนาไวรัสทุกสายพันธุ์ นักวิจัยยังเชื่อว่า รังสียูวีซี จะฆ่าเชื้อไวรัสที่ลอยอยู่ในอากาศนานถึง 8 นาที ได้มากถึงร้อยละ 90 และเป็นร้อยละ 95 สำหรับไวรัสที่ลอยในอากาศ 11 นาที
และร้อยละ 99 สำหรับไวรัสที่ลอยในอากาศ 16 นาที ตลอดจนร้อยละ 99.9 สำหรับไวรัสที่ลอยในอากาศนานถึง 25 นาที
ในอนาคตเราจึงอาจได้เห็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อที่ปลอดภัยต่อมนุษย์เหล่านี้ร่วมกับการออกแบบเพิ่มเติมเพื่อใช้ในพื้นที่สาธารณะทั้งในและนอกอาคารเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ เช่น การใช้งานหุ่นยนต์ทำความสะอาดตามพื้นที่ต่าง ๆ ของอาคาร การฆ่าเชื้อในห้องน้ำแบบอัตโนมัติ หรือการฆ่าเชื้อในบริเวณที่ผู้คนพลุกพล่าน รวมไปถึงอุปกรณ์ฆ่าเชื้อแบบพกพาที่ใช้งานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
ที่ห้างสรรพสินค้าในประเทศเบลเยี่ยม มีไอเดีย นำรถเข็นในซุปเปอร์มาเก็ตมาเก็บไว้ในช่องที่มีรังสี UVC เพื่อฆ่าเชื้อโควิด19 ก่อนให้ลูกค้านำไปใช้ใส่สินค้า เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจตกค้างในรถเข็น
แหล่งที่มาของข่าว: คลิกที่นี่
น้องจริงจ้า
ผู้ช่วยวิเคราะห์ข่าวกรองให้ทุกท่าน ข่าวไหนจริง หรือ ไม่จริง ตรวจสอบกับน้องจริงจ้าได้ที่นี่เจ้าค่ะ