ผักกูด กินได้ ปลอดมะเร็ง
กรณี “กินผักกูด... อันตราย เสี่ยงมะเร็ง” มีการส่งต่อกันบนโลกออนไลน์ข้าม พ.ศ. กันอย่างต่อเนื่อง จริงหรือเท็จ... ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม เรื่องนี้มีคำยืนยืนจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ คือ รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความกระจ่าง ดังนี้
ผักกูด... มีสารก่อมะเร็งจริงหรือไม่
ไม่จริง… จะต้องแยกให้ออกว่าเป็นผักกูดชนิดไหน เพราะผักกูดมีหลายชนิด ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีผักกูดหน้าตาคล้ายผักกูดของไทยแต่มีพิษ ทำให้เกิดมะเร็งขึ้นได้ แม้กระทั่งในบ้านเราที่เรียกกันว่า “ผักกูดภูเขา” หน้าตาคล้ายผักกูดทั่วไป มีสารก่อมะเร็งเหมือนกัน
ปกติผักกูดจะขึ้นได้เฉพาะในสิ่งแวดล้อมที่ดีเท่านั้น ถ้าสิ่งแวดล้อมนั้นมีสารเคมี มีสารพิษปนเปื้อน ผักกูดจะไม่ขึ้น
ผักกูดจะเป็นตัวบอกได้ดีทางนิเวศวิทยา ว่าผืนแผ่นดินบริเวณนั้นต้องอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่ดี ถ้าบริเวณไหนมีสารพิษอยู่ผักกูดจะไม่ขึ้น ผักกูดจะตาย ฉะนั้นสิ่งที่นำมาแชร์ว่า “กินผักกูดแล้วเป็นมะเร็ง” ไม่จริง ขึ้นกับชีวิตของผักกูดต่างหาก
จากการวิจัยพบว่าผักกูดมีคุณค่าสารอาหารค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่นๆ คือมีลูทีนสูง
ลูทีนคือสารแคโรทีนอยด์ตัวหนึ่ง เป็นอนุพันธ์คาโรทีนอยตัวหนึ่ง สารตัวนี้ช่วยบำรุงสายตา เหมือนกับบีตาแคโรคทีนที่บำรุงสายตา ทำให้ชะลอความเสื่อมของตาช้าลง นอกจากนี้ ผักกูดมีโพแทสเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนี้
1. โพแทสเซียมสูง ฟอสฟอรัสปานกลาง มีสารอนุมูลอิสระที่ดีพอสมควร คือแอนโทไซยานิน ผักส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีแอนโทไซยานินไม่ค่อยมีเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่อยู่ตามสีม่วงๆ แต่ในผักใบเขียวค่อนข้างน้อย
จากการทำวิจัยผักพื้นบ้านพบว่า มีค่อนข้างมากกว่าชนิดอื่น
2. สารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างดีกว่าผักชนิดอื่น ประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น จากการสูบบุหรี่ จากอะไรก็แล้วแต่ หรือจากกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย พวกนี้จะไปช่วยลดอัตราการเกิดพวกนี้ได้
ผักกูดเป็นผักที่ดี นอกจากมีเส้นใยอาหาร สารอาหาร ดีแล้ว ตัวผักกูดเองยังมีสารต้านอนุมูลอิสระพวกฟีนอลิกคอมปาวค่อนข้างสูง เชื่อว่าสารฟีนอลิกช่วยต้านมะเร็งได้
แหล่งที่มาของข่าว: คลิกที่นี่
น้องจริงจ้า
ผู้ช่วยวิเคราะห์ข่าวกรองให้ทุกท่าน ข่าวไหนจริง หรือ ไม่จริง ตรวจสอบกับน้องจริงจ้าได้ที่นี่เจ้าค่ะ