ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใส่หน้ากากอนามัย ที่ไม่ระบุ VFE ทำให้ป้องกันไวรัสไม่ได้

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใส่หน้ากากอนามัย ที่ไม่ระบุ VFE ทำให้ป้องกันไวรัสไม่ได้

Avatar
โดย น้องจริงจ้า | 27/07/2021

ตามที่มีข้อความแนะนำปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ใส่หน้ากากอนามัย ที่ไม่ระบุ VFE ทำให้ป้องกันไวรัสไม่ได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่า หากสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ไม่ระบุ VFE เท่ากับป้องกันไวรัสไม่ได้นั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า คำว่า VFE ที่พบบนบรรจุภัณฑ์ของหน้ากาก หมายถึง ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส (Viral Filtration Efficiency) ของหน้ากาก ซึ่งหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ อย. อนุญาตจะมีคุณสมบัติในการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสที่มาพร้อมละอองฝอยของน้ำลายได้ แม้ว่าจะไม่ได้ระบุข้อมูลประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสในรูปแบบ VFE ดังนั้น ประชาชนสามารถสังเกตข้างกล่องจะระบุข้อความ Medical mask, Surgical mask หรือหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และสามารถตรวจสอบรายชื่อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย.ทางเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้วเชื้อไวรัสจะมาพร้อมกับละอองฝอยของน้ำลาย หน้ากากอนามัยที่ระบุวัตถุประสงค์อื่น เช่น ป้องกันฝุ่นละออง ป้องกันกลิ่น แม้ว่า อย. จะไม่ได้กำกับดูแลแต่ก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันการทะลุผ่านของละอองฝอย และเชื้อไวรัสที่ปนมากับละอองฝอยได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข

สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทรสายด่วน อย. 1556 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : หน้ากากอนามัยที่ไม่ได้ระบุ VFE หรือระบุวัตถุประสงค์อื่น เช่น ป้องกันฝุ่นละออง ป้องกันกลิ่น ก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันการทะลุผ่านของละอองฝอย และเชื้อไวรัสที่ปนมากับละอองฝอยได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งที่มาของข่าว: คลิกที่นี่

Avatar
น้องจริงจ้า

ผู้ช่วยวิเคราะห์ข่าวกรองให้ทุกท่าน ข่าวไหนจริง หรือ ไม่จริง ตรวจสอบกับน้องจริงจ้าได้ที่นี่เจ้าค่ะ


เลือกประเภทข่าวที่ต้องการโหวต :