ความหมาย บูลิเมีย (Bulimia)

ความหมาย บูลิเมีย (Bulimia)

Avatar
โดย น้องจริงจ้า | 12/05/2020

Bulimia โรคบูลิเมียหรือโรคล้วงคอ เป็นโรคการกินผิดปกติที่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะผู้ป่วยจะรับประทานอาหารปริมาณมากตามด้วยการกำจัดอาหารที่เพิ่งรับประทานเข้าไปเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โดยมักทำให้ตนเองอาเจียน ออกกำลังกายอย่างหนัก ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ รวมทั้งอาจอดอาหารและจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทานด้วย ซึ่งโรค Bulimia เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นเพศหญิง 1658 Bulimia resized อาการของบูลิเมีย ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรค Bulimia มีดังนี้ รับประทานอาหารปริมาณมากในช่วงเวลาสั้น ๆ จำกัดปริมาณอาหาร และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารบางชนิด ล้วงคอเพื่อให้อาเจียนอาหารที่รับประทานเข้าไป หรือออกกำลังกายอย่างหักโหมเพื่อป้องกันน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรือสวนทวารหลังรับประทานอาหาร ใช้อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดน้ำหนัก กังวลหรือกลัวว่าน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น หมกมุ่นอยู่กับน้ำหนักและรูปร่างของตนเอง มีความคิดแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของตนเอง ควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ได้ สภาวะอารมณ์เปลี่ยนไปจากปกติ เช่น รู้สึกเครียด หรือวิตกกังวล เป็นต้น ประจำเดือนมาผิดปกติ สาเหตุของบูลิเมีย ในทางการแพทย์ปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค Bulimia แต่โรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกัน ดังนี้ อายุ โรค Bulimia มักพบได้มากในช่วงวัยรุ่นตอนปลายจนถึงช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น เพศ เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรค Bulimia มากกว่าเพศชาย พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะญาติสายตรงลำดับที่ 1 ป่วยเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับการกิน เป็นโรคซึมเศร้า ติดสุรา

หรือติดยาเสพติด สภาวะทางร่างกาย ภาวะขาดสารสื่อประสาทเซโรโทนินในสมอง หรือการมีน้ำหนักตัวมากในวัยเด็กและวัยรุ่นก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ สภาวะทางจิตใจ สภาวะอารมณ์และปัญหาสุขภาพจิตบางอย่างอาจเสี่ยงป่วยเป็นโรค Bulimia ได้ เช่น ความเครียด โรควิตกกังวล หรือเป็นผู้ที่มีความพึงพอใจในตนเองต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ การเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดหรือส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจก็อาจเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การป่วยโรคนี้ได้เช่นกัน เช่น การถูกคุกคามทางเพศ เป็นต้น ค่านิยมตามสื่อต่าง ๆ สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และนิตยสารแฟชั่นที่มีภาพประกอบเป็นนางแบบหรือดาราหุ่นผอมเพรียว อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเสี่ยงเป็นโรคล้วงคอ เนื่องจากสื่อเหล่านี้มักนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้ที่มีรูปร่างผอมพร้อมกับความสำเร็จและชื่อเสียง อาชีพ นักกีฬา นักแสดง นักเต้น และนางแบบ เป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ เนื่องจากผู้ฝึกสอนหรือผู้ปกครองอาจคอยกระตุ้นให้ลดน้ำหนัก หรือจำกัดปริมาณการรับประทานอาหารเพื่อสมรรถภาพร่างกายที่ดีขึ้น การวินิจฉัยบูลิเมีย ในขั้นแรกแพทย์จะตรวจร่างกายเบื้องต้น และอาจแนะนำให้ตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมอย่างการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ รวมทั้งตรวจทางจิตวิทยา โดยแพทย์จะพูดคุยซักถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและทัศนคติที่มีต่ออาหาร นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช DSM-5 (Diagnotis and Statistical Manual of Mental Disorders) ประกอบการวินิจฉัยโรค Bulimia ร่วมด้วย โดยลักษณะของผู้ป่วยที่เป็น Bulimia มีดังนี้ ให้คุณค่าตนเองจากรูปร่างและน้ำหนัก รับประทานอาหารปริมาณมากผิดปกติซ้ำ

ๆ ควบคุมการรับประทานอาหารไม่ได้ กำจัดอาหารที่รับประทานเข้าไปด้วยการอาเจียน หักโหมออกกำลังกาย ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรืออดอาหาร มีพฤติกรรมรับประทานอาหารปริมาณมากแล้วตามด้วยการกำจัดทิ้งเกิดขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยทำติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป ไม่ได้ป่วยเป็นโรคคลั่งผอม Anorexia และมีพฤติกรรมจำกัดการกินอาหารอย่างผิดปกติหรืออดอาหาร ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของโรค Bulimia ขึ้นอยู่กับความถี่ของการกำจัดอาหารในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งมีการจัดระดับความรุนแรงของโรค ดังนี้ ระดับไม่รุนแรง: 1-3 ครั้ง/สัปดาห์ ระดับปานกลาง: 4-7 ครั้ง/สัปดาห์ ระดับรุนแรง: 8-13 ครั้ง/สัปดาห์ ระดับรุนแรงมาก: มากกว่า 13 ครั้ง/สัปดาห์ กรณีที่ป่วยด้วยโรคล้วงคอเป็นเวลานาน ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากอาการของโรคอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ การรักษาบูลิเมีย ในการรักษาโรค Bulimia นั้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีรักษาร่วมกันมากกว่า 1 วิธี ซึ่งการรักษาด้วยการฟื้นฟูสภาพจิตร่วมกับการใช้ยาต้านเศร้า และการให้ความร่วมมือกับแพทย์ นักจิตบำบัด เพื่อน และครอบครัว อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรคนี้ โดยโรค Bulimia สามารถรักษาและบำบัดได้ ดังนี้ จิตบำบัด เป็นวิธีรักษาด้วยการพูดคุยบำบัดทางจิตกับผู้ให้คำปรึกษาพิเศษหรือจิตแพทย์ ซึ่งวิธีจิตบำบัดที่ใช้รักษาโรค Bulimia มีดังนี้ การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจและเรียนรู้ว่าการล้วงคอหรือความเชื่อเกี่ยวกับการกำจัดอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ

และปรับทัศนคติของผู้ป่วยเกี่ยวกับอาหารและการรับประทานอาหารไปในทางที่เหมาะสม การบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Therapy) ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยปรับความคิด ทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะการแก้ปัญหาของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ การบำบัดแบบครอบครัว (Family-Based Therapy) ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรค Bulimia ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น โดยการบำบัดวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ปกครองควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วย และเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบต่อครอบครัวจากโรคนี้ได้ การใช้ยารักษา การใช้ยาต้านเศร้าควบคู่กับการพูดคุยบำบัดทางจิตอาจช่วยลดอาการของโรค Bulimia ได้ โดยยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรค Bulimia คือ ยาฟลูอ็อกซีทีน (Fluoxetine) ซึ่งเป็นยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) โภชนศึกษา แพทย์และนักโภชนาการอาจช่วยวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีน้ำหนักตัวเป็นปกติ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดี และได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังได้รับคำแนะนำในการลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยอีกด้วย การรักษาในโรงพยาบาล แม้ว่าผู้ป่วยโรค Bulimia อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเสมอไป แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากและมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันที ภาวะแทรกซ้อนจากบูลิเมีย การได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน การล้วงคออาเจียน และการใช้ยาระบายเป็นประจำ อาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะขาดสารอาหารและภาวะแทรกซ้อนได้หลายประการ

ดังนี้ รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือประจำเดือนขาด ผิวหนังและเส้นผมแห้ง เล็บหักง่าย ภาวะขาดน้ำ ต่อมน้ำลายอักเสบ มีแผลในกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อหดเกร็ง ท้องผูก สมรรถภาพทางเพศลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัญหาสุขภาพฟัน เนื่องจากกรดกระเพาะอาหารจากการอาเจียนอาจทำลายผิวเคลือบฟันได้ มีปัญหาเกี่ยวกับไต หัวใจ ลำไส้ และกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน เป็นต้น พยายามฆ่าตัวตาย การป้องกันบูลิเมีย การอยู่ในยุคที่สื่อต่าง ๆ เผยแพร่ค่านิยมความผอมและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริงอาจทำให้วัยรุ่นหมกมุ่นอยู่กับมายาคติในการมีรูปร่างที่ดี ดังนั้น นักวิชาการและผู้ปกครองควรกระตุ้นให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อรูปร่างของตนเอง และทำความเข้าใจว่าการมีน้ำหนักที่เหมาะสมนั้นไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างที่ผอมเสมอไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้

แหล่งที่มาของข่าว: คลิกที่นี่

Avatar
น้องจริงจ้า

ผู้ช่วยวิเคราะห์ข่าวกรองให้ทุกท่าน ข่าวไหนจริง หรือ ไม่จริง ตรวจสอบกับน้องจริงจ้าได้ที่นี่เจ้าค่ะ


เลือกประเภทข่าวที่ต้องการโหวต :